ในกรุงเทพมหานคร เป็นศูนย์รวมของผู้เกี่ยวข้องในวงการบันเทิงทั้งด้านภาพยนตร์ โขน ละครและดนตรี ในยุคสมัยคุณพ่อ คุณแม่ยังสาวย่านหลังวังบูรพาแห่งนี้เป็นจุดนัดพบของดารา นักร้อง วัยรุ่นและผู้คน ที่ต่างแวะเวียนกันมาเลือกซื้อสินค้า ชมภาพยนตร์ที่ศาลาเฉลิมกรุงหรือโรงภาพยนตร์ในย่านหลังวัง โดยก่อนเริ่มการฉายภาพยนตร์จะมีวงดนตรีวัยรุ่นไทย หลากหลายวงดังมาขับร้องและเล่นดนตรีสไตล์ “ชาโดว์” ร้องเพลงสากลฮอตฮิตติดชาร์ตของศิลปินนักร้องดังที่ครองตลาด เพลงโลกและครองใจวัยรุ่นไทยสมัยนั้น ซึ่งเป็นที่รู้จักเรียกขานกันมาจนถึงสมัยนี้ว่า “ยุคโก๋หลังวัง” แม้เวลาจะล่วงเลย ผ่านมาถึง 89 ปี โรงมหรสพหลวงศาลาเฉลิมกรุงแห่งนี้ยังจัดคอนเสิร์ตงานเพลงเอลวิส เพรสลี่ย์ และคอนเสิร์ตโก๋หลังวัง ขึ้นเป็นประจาทุกปี มีแฟนเพลงเข้าชมกันอย่างเหนียวแน่นและขยายไปจนถึงกลุ่มผู้ชมโก๋กี๋ยุคใหม่ที่หลงใหลมนต์เสน่ห์ของ
เพลงดังในตานานแห่งยุค “โก๋หลังวัง”
โรงมหรสพหลวงศาลาเฉลิมกรุงเปิดเวทีอันทรงเกียรติครั้งแรก…จัดโครงการประกวดร้องเพลงสากล ยุค “โก๋หลังวัง” ค้นหาดาวดวงเด่น…ประดับวงการเพลงสากลอมตะยุคโก๋หลังวัง ประกวด…ประชัน…นักร้องโก๋กี๋รุ่นใหม่ ถ่ายทอดบทเพลงในตานาน…ของศิลปินนักร้องดังแห่งยุคโก๋หลังวังจาก 5 นกั รอ้ งตน้ แบบชาย เอลวิส เพรสลีย์ (Elvis Presley), จอห์นนี ทิลลอตสัน (Johnny Tillotson), พอล แองคา (Paul Anka), นีล เซดากา (Neil Sedaka), คลิฟฟ์ ริชาร์ด (Cliff Richard) 5 นกั ร้องต้นแบบหญิง ได้แก่ เบรนดาลี (Brenda Lee), ซู ทอมป์สัน (Sue Thompson), แมรี ฮอปกิน (Mary Hopkin), แวนด้า แจ็คสัน (Wanda Jackson) และคอนนี่ ฟรานซิส
(Connie Francis)
และศิลปินนักร้องคณะ
เดอะ บราเธอรส์ โฟร์ (The Brothers Four) ซึ่งบทเพลงดังของ
ศิลปินนักร้องเหล่านี้ ยังคงมีเสน่ห์มาจนถึงปัจจุบัน อาทิ Always on my mind, Love me tender, Cutie Pie, Poetry in motion, Put Your Head on My Shoulder, I Don’t Like to Sleep Alone, One Way Ticket, Laughter In The Rain, Summer Holiday The Young Ones, Greenfields,Yellow Bird, Nine Little Teardrops, Sad Movies, If You Love
Me, Sweet Nothing, Goodbye, Those Were the Days, Stupid Cupid, Where the Boys Are เป็นต้น
เชิญชวนเยาวชนชาย-หญิง ตั้งแต่ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น – อายุไม่เกิน 30 ปี ที่มีความสามารถทาง
ด้านการร้องเพลงสากล โดยไม่เป็นนักร้องที่ติดสัญญากับค่ายเพลงหรือสังกัดบริษัทใดๆ สมัครเข้าร่วมโครงการประกวด ร้องเพลงสากล ยุค “โก๋หลังวัง” ปี 2566 ชิงถ้วยรางวัลเกียรติยศจากโรงมหรสพหลวงศาลาเฉลิมกรุง พร้อมเงินสดและของ รางวัลรวมมูลค่ากว่า100,000บาทและจะไดเ้ข้าร่วมร้องเพลงบนเวทีศาลาเฉลิมกรุงในละครเวที“โก๋หลังวัง”เดอะมิวสิคัล ร่วมกับศิลปินนักร้องคุณภาพชื่อดัง เปิดรับสมัครทางออนไลน์ ตั้งแต่วันพุธที่ 1 มีนาคม – วันศุกร์ที่ 31 มีนาคม 2566 ผู้สมัครต้องเตรียมเอกสารให้พร้อม ได้แก่ ไฟล์ภาพถ่ายสีหน้าตรงขนาดโปสการ์ด จานวน 2 รูป, ไฟล์ภาพสาเนาบัตร ประจาตัวประชาชน, ไฟล์เสียง MP3 บันทึกเสียงร้องเพลงของตนเองโดยเลือกบทเพลงยุคโก๋หลังวังจากศิลปินนักร้องต้น แบบที่กองประกวดกาหนดให้ บันทึกเสียงร้อง 1 เพลงโดยมีดนตรีประกอบ และทาการสมัครพร้อมแนบหลักฐานการสมัคร ส่งทางช่องทางออนไลน์ ศาลาเฉลิมกรุงจะเริ่มทาการคัดเลือกไฟล์เสียงที่ผู้สมัครส่งเข้ามาและประกาศผล ในช่วงต้นเดือน
เมษายน และทาการประกวดร้องเพลงบนเวที รอบที่ 1 ในระหว่างวันเสาร์ที่ 22 – วันอาทิตย์ที่ 23 เมษายน 2566 เวลา 14.00 น. และทาการประกวดร้องเพลงบนเวที รอบที่ 2 ในระหว่างวันเสาร์ที่ 29 – วันอาทิตย์ที่ 30 เมษายน 2566 เวลา 14.00 น. ณ เวทีลานมิ่งเมือง ศูนย์การค้า ดิ โอลด์ สยาม พลาซ่า และทาการประกวดรอบชิงชนะเลิศ ในวันอาทิตย์ที่ 14 พฤษภาคม 2566 เวลา 14.00 น. ณ เวทีโรงมหรสพหลวงศาลาเฉลิมกรุง บรรเลงดนตรีโดยวง Big Band เฉลิมราชย์ ที่รวมนักดนตรีโก๋เก่าระดับแนวหน้าของเมืองไทย ควบคุมวงโดยโก๋รุ่นเก๋า อ.วิรัช อยู่ถาวร(ศิลปินแห่งชาติ) พบกับ บรรยากาศการรวมตัวครั้งแรก…ของคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิแห่งยุคโก๋หลังวังมาร่วมให้เกียรติเป็นกรรมการตัดสิน
อาทิ วินัย พันธุรักษ์ (ศิลปินแห่งชาติ), จีระศักดิ์ ปิ่นสุวรรณ, กล ภาคสุวรรณ, นคร วีระประวัติ, วิชัย ปุญญะยันต์, เล็ก เพรสลี่ย์, สมชัย ขาเลิศกุล(ฉ่าย กาปะนี), โรจน์ ควันธรรม, เมธินี อ่วมเจริญ (หน่อย เบรนดาลี), วสุ แสงสิงแก้ว, นนทิยา จิวบางป่า เป็นต้น
ได้ใช้ความสามารถทางการร้องเพลงสากล และใช้ภาษาในการร้องเพลงสากลได้อย่างถูกต้อง อีกทั้งเป็นการร่วมสืบทอด บทเพลงสากลที่มีคุณค่าเพื่อส่งต่อจากรุ่นสู่รุ่น และเปิดโอกาสให้เยาวชนคนรุ่นใหม่ได้มีเวทีแสดงออกถึงความสามารถ เปิดรับสมัครตั้งแต่วันพุธที่ 1 – วันศุกร์ที่ 31 มีนาคม 2566 สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ฝ่ายสื่อสารองค์กร
ศาลาเฉลิมกรุง โทร. 0-2225-8757-8 และสามารถสมัครทางออนไลน์โดยการสแกน QR CODE