10 เทคนิคการร้องเพลงที่ควรเรียนรู้และฝึกฝนให้เก่งถ้าอยากจะร้องเพลงเพราะ โดยครูฟิล์ม สอนร้องเพลง - ร้องเพลงดอทคอม - สอนร้องเพลงสดและออนไลน์

10 เทคนิคการร้องเพลงที่ควรเรียนรู้และฝึกฝนให้เก่งถ้าอยากจะร้องเพลงเพราะ โดยครูฟิล์ม สอนร้องเพลง

สวัสดีครับ วันนี้ครูฟิล์มจะมาสอนร้องเพลงเบื้องต้นให้ทุกๆคน โดยจะเป็นการแนะนำเทคนิคการร้องเพลงเบื้องต้นที่ทุกๆคนที่อยากจะร้องเพลงเพราะควรทำให้ได้ ซึ่งสามารถนำไปฝึกฝน เรียนร้องเพลงได้ด้วยตัวเองที่บ้านนะครับ

บทความนี้เขียนโดยครูฟิล์ม ธนพรรษ  ตัวแทนของภูมิภาคเอเชียของหลักสูตรสอนร้องเพลง Modern Vocal Training จากยุโรปที่มีเครือข่ายทั่วโลก โดยใช้เทคนิคการร้องที่ช่วยเรื่องการทำงานของเส้นเสียงโดยเฉพาะ

อย่างที่รู้กันว่าการร้องเพลงที่ดีต้องอาศัยสมดุลระหว่างกล้ามเนื้อและลม เพื่อให้เกิดสมดุลที่ดีในการออกเสียง เมื่อเราเรียนรู้ที่จะร้องเพลงอย่างมีสมดุลแล้ว เราจะสามารถเปล่งเสียงสูงและต่ำได้อย่างไพเราะครับ

วันนี้มาดูกันว่า เราควรจะต้องฝึกอะไรกันบ้างเพื่อให้เราร้องเพลงได้เพราะมากขึ้นนะครับ   ครูฟิล์มขอเสนอ 10 ข้อที่ควรฝึกฝน เวอร์ชั่นที่ 1 นะครับ

  1.  ร่างกาย  – การร้องเพลงเป็นการทำงานประสานกันระหว่างกล้ามเนื้อที่ช่วยในการออกเสียง และระบบการหายใจที่มีประสิทธิภาพ ถ้าอยากจะเรียนร้องเพลงด้วยตัวเอง สิ่งที่ต้องทำเป็นอันดับแรกก็คือ ตรวจสอบร่างกายของเราว่ามีความผิดปกติอย่างไรบ้าง  บางคนมีอาการยืนแล้วศีรษะเชิดไปด้านหน้า บางคนมีอาการเกร็งที่หัวไหล่ หน้าท้อง หรือคอ โดยที่ไม่รู้ตัว เพราะฉะนั้นสิ่งแรกคือยืดและคลายกล้ามเนื้อให้เป็นธรรมชาติเพื่อเตรียมตัวสำหรับการร้องเพลงในขั้นต่อไปครับ
  2. ลมหายใจ – ลมหายใจเป็นส่วนสำคัญที่จะทำให้เส้นเสียงเราทำงานได้ แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น การสอนร้องเพลงที่ดี ก็ไม่ควรที่จะโฟกัสที่ลมหายใจอย่างเดียว บางคนมุ่งความสนใจทั้งหมดไปที่เรื่องของการหายใจ เพราะฉะนั้นการฝึกร้องเพลงในขั้นต้นที่ดี คือมีสมาธิกับลมหายใจที่เป็นธรรมชาติ ไม่หายใจตื้นเกินไป ไม่หายใจลึกเกินไป ไม่กระชากลมหายใจ ไม่กลั้นลมหายใจ เมื่อหายใจแล้วต้องไม่เกิดอาการเกร็งในบริเวณต่างๆเช่น คอ หน้าท้อง หลัง ไหล่ และอื่น การหายใจควรเป็นไปอย่างธรรมชาติ หายใจเข้าสุด ออกสุด ไม่รู้สึกหน้ามืด เวียนหัว หรือจะเป็นลม เราสามารถฝึกหายใจให้ช้าลง หรือเร็วขึ้นได้ ตามและเพลงแต่ละเพลงที่เราจะต้องร้อง  ในขั้นตอนนี้อยากให้คิดเสมอว่า การหายใจเป็นกระบวนการธรรมชาติ ถ้าทำแล้วรู้สึกขัดๆ ไม่เป็นธรรมชาติ คุณอาจจะกำลังฝึกหายใจผิดอยู่ก็เป็นได้
  3. การเปล่งโน้ตให้นิ่ง – การเปล่งหรือร้องโน้ตให้นิ่งนั้นเป็นการนำเทคนิคการใช้เสียงในข้อ 1 และข้อ 2 มารวมกัน เพื่อให้เราสามารถร้องเสียงที่มีความนิ่งและน่าฟังได้  ไม่สั่นเครือ ไม่อ่อนแอ ไม่เหนื่อย  ในช่วงแรกของการสอนร้องเพลง จะเน้นไปที่เรื่องนี้ก่อนเป็นหลัก นักเรียนที่เรียนร้องเพลงส่วนใหญ่ก็จะควรจะต้องควบคุมเสียงให้ได้นิ่ง เพื่อเป็นพื้นฐานในการเรียนสิ่งที่ยากขึ้น การที่เสียงเรานิ่งแปลว่าเราสามารถควบคุมการทำงานได้อย่างดี ไม่มีอาการเกร็งเกินไป หรืออ่อนแอเกินไป ซึ่งเป็นพื้นฐานของเทคนิคการออกเสียงที่ดี
  4. การเพิ่มเร้นจ์เสียง – หลังจากที่เราสามารถทำเสียงได้นิ่งแล้ว เราก็ควรจะเพิ่มช่วงเสียงของเราให้ต่ำลงและสูงขึ้นโดยที่ยังสามารถควบคุมเสียงได้นิ่ง  แบบฝึกหัดการยืดเสียงและร้องเพลงเสียงสูงก็สามารถหาได้จากเว็บไซต์ ร้องเพลงดอทคอม ของครูฟิล์มครับ  การเพิ่มความกว้างของช่วงเสียงให้สูงขึ้นและต่ำลง จะทำให้เราสามารถร้องเพลงที่ยากขึ้นได้ ทำให้มีความหวือหวามากขึ้น ปกติแล้วถ้าได้เรียนร้องเพลงอย่างจริงจัง คุณครูสอนร้องเพลงก็จะแนะนำให้เรารู้จักเสียงในช่วงต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นช่วงเสียง Chest, Mix และ Head Voice ซึ่งเราควรจะเรียนรู้และควบคุมให้ได้อย่างดี เพื่อที่จะนำไปพัฒนาต่อในขั้นตอนต่อไปครับ  ตัวอย่างแบบฝึกหัดการขยายเส้นเสียงสามารถหาได้ที่ https://www.rongpleng.com/how-do-i-increase-my-vocal-range/
  5. การ blend เสียงจากต่ำไปสูงโดยไร้รอยต่อ – การเชื่อมเสียงต่ำไปเสียงสูงโดยไม่มีรอยต่อ พูดอีกอย่างหนึ่งก็คือว่าสามารถร้องเสียงต่ำไปเสียงสูงได้โดยที่ไม่มีอาการปลิ้น หรือไม่มีอาการเปลี่ยนเป็นเสียง falsetto , หรือเสียงหลบบาง อย่างกระทันหัน  เทคนิคการฝึกเสียงให้เชื่อมต่อกันแบบนี้ ไม่ใช่เรื่องง่าย แต่ก็ไม่ใช่เรื่องที่เป็นไปไม่ได้ การสอนร้องเพลงโดยใช้เทคนิคที่ช่วยเรื่องการยืดของเส้นเสียงและแนบกันของเส้นเสียง จะช่วยให้เราขึ้นเสียงสูงได้โดยไม่ปลิ้นและไม่เกร็ง ซึ่งวิธีการเรียนร้องเพลงโดยใช้หลักการแบบนี้จำเป็นต้องมีโค้ชหรือครูสอนร้องเพลงที่ศึกษาด้านนี้มาโดยตรงซึ่งจะทำให้การออกแบบแบบฝึกหัดต่างๆมีประสิทธิภาพ  ยิ่งแบบฝึกหัดฝึกร้องเพลงมีประสิทธิภาพมากเท่าไรก็จะทำให้ปัญหาหายไปได้เร็วเท่านั้น ซึ่งการมีเสียงที่เชื่อมต่อกันทำให้เราสามารถร้องเพลงได้ไพเราโดยไม่สะดุด น่าฟัง และมีความต่อเนื่อง เวลาเราต้องร้องเพลงยากๆก็สามารถร้องได้โดยไม่ทำให้เกิดอาการบาดเจ็บ หรือไม่ทำให้เกิดอาการที่เสียงสะดุด
  6. การเพิ่มสีสันให้กับเสียงร้อง – นอกจากที่เสียงของเราจะต้องนิ่งทั้งเสียงสูงและเสียงต่ำแล้ว การเพิ่มสีสันให้เสียงของเราก็มีความสำคัญเช่นกัน  สีสันของเสียงร้อง อาจจะเรียกได้อีกอย่างว่าการใส่ effect ให้กับเสียงร้อง ไม่ว่าจะเป็นเสียงหนา เสียงบาง เสียง fry เสียง cry การใส่ลูกคอและอื่นๆก็ถือว่าเป็นการเพิ่มสีสันให้เสียงร้องเช่นกัน เทคนิคการร้องเพลงที่มีสีสันในเนื้อเสียงทำให้เราสามารถเล่าเรื่องและถ่ายทอดบทเพลงออกมาได้ดี และลึกซึ้งขึ้น ทำให้ผู้ฟังรู้สึกอินตามได้มากขึ้น และยังเพิ่มเสน่ห์ให้กับการร้องเพลงของตัวเองด้วยครับ
  7. การเรียนรู้องค์ประกอบของบทเพลง – การเรียนรู้องค์ประกอบของบทเพลงไม่ว่าจะเป็นเรื่องของดนตรีต่างๆ สไตล์ดนตรี เครื่องดนตรีหลัก เครื่องดนตรีรอง  การเขียนท่อนต่างๆของบทเพลง ท่อนพีคสุดถูกวางไว้ที่ไหน หรือท่อนที่เด่นที่สุดคือท่อนไหน ถ้าเรารู้องค์ประกอบของเพลง เราจะสามารถถ่ายทอดออกมาได้ตรงกับสิ่งที่เพลงพยายามจะสื่อสารมากที่สุด เราจะรู้ว่าควรจะใช้เสียงและอารมณ์แบบไหนในท่อนไหน ทำให้เพลงไม่นิ่ง ทำให้เพลงมีชีวิตขึ้นมา ทำให้เราวางแผนการใช้เสียงและการร้องได้ละเอียดมากขึ้น
  8. การถ่ายทอดอารมณ์ในบทเพลง – การถ่ายทอดอารมณ์ในบทเพลงทำได้หลากหลายรูปแบบ อาจจะเป็นการฝึกข้อ 6 และข้อ 7 รวมกัน จากนั้นก็นำมาใช้ ร่วมกับความสามารถในการแสดง นอกจากเรียนร้องเพลงและฝึกร้องเพลงให้ชำนาญแล้ว ถ้ามีโอกาสได้เรียนการแสดงเพิ่มเติม ก็สามารถที่จะทำให้เราสามารถเลือกวิธีการสื่อสารผ่านทางร่างกาย สีหน้า ท่าทางได้ดีขึ้น เมื่อบวกกับเสียงของเราที่มีอารมณ์อยู่ในนั้นแล้ว เราจะเพิ่มความน่าสนใจให้การร้องเพลงได้อีกมาก เพลงที่เราร้องจะไม่เป็นเพลงธรรมดาๆอีกต่อไป แต่จะเต็มไปด้วยเรื่องราวที่หน้าคนหา ทำให้ผู้ฟังรู้สึกคล้อยตามได้ไม่ยาก
  9. การฝึกการขึ้นเวทีและการใช้ไมค์ – เมื่อเราได้ฝึกร้องเพลงมาแล้ว ตั้งแต่ข้อ 1 ถึง 8 เราควรจะเริ่มนำทุกอย่างมารวมกันบนเวที โดยการเริ่มซ้อมบนเวที รู้จักการใช้เวทีและการใช้ไมค์ให้ไม่เคะเขิน ให้รู้สึกเป็นธรรมชาติ  รู้สึกว่าสบาย ไม่เกร็ง บนเวที  ข้อนี้ก็ต้องอาศัยการซ้อมให้ชำนาญ และควรจะมีโค้ชที่ทำหน้าที่ดูแลการร้องให้เรา จะได้ไม่ร้องหรือแสดงออกมามากไปหรือน้อยไปจนไม่เป็นธรรมชาติ  การใช้ไมค์ก็เช่นกัน ที่จะต้องฝึกฝนให้พอดี ใช้อย่างฉลาด เพื่อช่วยให้การร้องของเราไหลลื่นขึ้น และไม่เหนื่อย
  10. การแสดงสดจริงต่อหน้าผู้ชม – ต่อให้เราฝึกมาดีขนาดไหนแต่ไม่เคยได้ลงลองเวทีจริงก็อาจจะไม่ได้ให้เราแข็งแเกร่งขึ้น เพราะฉะนั้นครูฟิล์มแนะนำเป็นอย่างมากให้หาโอกาสแสดงสดต่อหน้าผู้ชมจริงๆ เพื่อเพิ่มทักษะการแสดงสด และที่สำคัญนักเรียนจะได้เจอเหตุการณ์จริง ความรู้สึกจริงระหว่างการแสดงซึ่งเป็นเรื่องสำคัญมากที่นักเรียนควรจะต้องเรียนรู้ตัวเองว่าเมื่อถึงคราวต้องแสดงจริงจะจัดการกับความรู้สึก ความตื่นเต้น สายตาคนมอง และคำคอมเม้นต์อย่างไร เรียนรู้ที่จะเอาชนะความกลัว เรียนรู้ที่จะเอาชนะตัวเองให้ได้ และร้องเพลงอย่างมีความสุข

ใครที่สนใจเรียนร้องเพลงไม่ว่าจะเป็นเรียนร้องเพลงออนไลน์ หรือเรียนร้องเพลงแบบเจอตัว เข้ามาเรียนที่สตูดิโอ ก็สามารถติดต่อครูฟิล์มได้ที่ไลน์ไอดี @rongpleng จะมีเจ้าหน้าที่คอยให้คำปรึกษาอยู่นะครับ

ติดตามช่องทางอื่นๆ ของ Rongpleng.com และบทความเกี่ยวกับเทคนิคการร้องเพลงได้ที่

🖱Official Website https://www.rongpleng.com/

🗂Official FB page https://www.facebook.com/rongplengdotcom

📸Official Instagram https://www.instagram.com/rongpleng

 🎈สำหรับผู้ที่สนใจเริ่มต้นการร้องเพลงอย่างถูกต้องกับครูฟิล์ม คุณครูเดีย ครูโชกุน ครูพูม ครูเกรซในทีม “ร้องเพลงดอทคอม” สามารถติดต่อสอบถามเข้ามาได้ตามช่องทางด้านล่างครับ

➖➖➖➖➖➖➖➖➖➖

อยากร้องเพลงเก่งๆ แอดไลน์ไว้เลย 📱Official Line : @rongpleng

หรือกดที่ลิงค์ https://lin.ee/qYJouC6

📲Tel: 099-2324519

📲Line : @rongpleng

📲[email protected]

➖➖➖➖➖➖➖➖➖➖

#ถามทำไมค์ #ครูฟิล์ม #ร้องเพลงดอทคอม #ครูฟิล์มสอนร้องเพลง #การฝึกเสียงChest #ฝึกเสียงให้แข็งแรง  #สอนร้องเพลง #เรียนร้องเพลง #ฝึกร้องเพลง

➖➖➖➖➖➖➖➖➖➖