ความชรา ส่งผลต่อกล่องเสียงและเส้นเสียงอย่างไร (Aging Voice ตอนที่ 2) - ร้องเพลงดอทคอม - สอนร้องเพลงสดและออนไลน์
ความชรา ส่งผลต่อกล่องเสียงและเส้นเสียงอย่างไร (Aging Voice ตอนที่ 2)

ความชรา ส่งผลต่อกล่องเสียงและเส้นเสียงอย่างไร (Aging Voice ตอนที่ 2)

ความชรา ส่งผลต่อกล่องเสียงและเส้นเสียงอย่างไร (Aging Voice ตอนที่ 2)

เส้นเสียง กล่องเสียง และกล้ามเนื้อที่เกี่ยวข้องก็จะได้รับผลกระทบจากการแก่ชราเช่นเดียวกับส่วนอื่นๆของร่างกาย มนุษย์เราจะมีช่วงเสียงเปลี่ยนในช่วงที่เห็นเด่นชัด ซึ่งก็คือ ช่วงที่กำลังจะเป็นวัยรุ่น เมื่อผ่านไปถึงช่วงวัยกลางคนก็จะมีการเปลี่ยนแปลงอีกครั้งทั้งผู้หญิงและผู้ชาย โดยที่ผู้หญิงในวัยกลางคนจะสังเกตได้ถึงเสียงที่ต่ำลงนิดหน่อยหลังจากที่ประจำเดือนเริ่มหมด สำหรับผู้ชายในช่วงปลายของวัยกลางคนจะรู้สึกได้ถึงเสียงที่เปลี่ยนสูงขึ้น ซึ่งทั้งสองอย่างนี้เกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงของกล่องเสียง และเส้นเสียงของเราเมื่อเราแก่ชราขึ้น

  • กล่องเสียงเคลื่อนตัวต่ำลง ซึ่งทำให้ vocal track (ระยะทางตั้งแต่เหนือกล่องเสียงถึงริมฝีปาก) นั้นยาวขึ้นซึ่งทำให้ resonance เปลี่ยน ฟังดูแล้วเสียงจะต่ำลง
  • เนื้อเยื่อส่วนที่เรียกว่า mucosa ของเส้นเสียง จะบางลง และแห้งกว่าปรกติ
  • ต่อมผลิตเมือกลดลง ก่อให้เกิดอาการเสมหะเหนียว และยากที่จะกำจัดเสมหะออก
  • กระดูกอ่อนที่เป็นส่วนประกอบในการบังคับเส้นเสียงจะเริ่มแข็ง (Calcified) ทำให้ Cricoarytenoid joints ซึ่งช่วยในการเปิด-ปิดเส้นเสียงทำงานได้ยากมากขึ้น ส่งผลทำให้เส้นเสียงปิดได้ยากขึ้น ปิดได้ไม่สนิท (ปิดจากด้านหลัง)
  • ในเคสของผู้หญิง ฮอร์โมนที่เปลี่ยนจะทำให้เส้นเสียงบวมเล็กน้อยและแข็งแน่นมากขึ้น ทำให้เสียงต่ำลง เสียงฟังไม่ใสก้องกังวาลเหมือนแต่ก่อน และทำให้เสียงมีลมรั่ว
  • ในผู้ชาย เส้นเสียงจะบางลงและแข็งแน่นมากขึ้น ทำให้เสียงสูงขึ้น (เส้นเสียงบางสามารถเกิดขึ้นในผู้หญิงได้เช่นกัน)
  • เส้นเสียงจะเริ่มฝ่อ ทำให้เส้นเสียงที่เคยมีขอบที่ตรงกลายเป็นเส้นเสียงที่มีขอบที่โค้ง ทำให้เส้นเสียงทั้งซ้ายและขวาไม่สามารถกลับมาแนบกันได้สนิทที่แนว Midline (ศัพท์ที่ใช้เรียกอาการนี้คือ Bowing, Glottal insufficiency หรือ Presbylarynx) ทำให้
  • เสียงอ่อนแอลง มีลมรั่วมากขึ้น เนื้อเสียงน้อยลง มีอาการปลิ้นของเสียง โน้ตไม่นิ่ง การพูดยิ่งยากขึ้น ต้องให้แรงและพยายามมากขึ้น ทำให้เกิดอาการเกร็งก่อให้เกิดปัญหาอื่นๆตามมาได้
  • อาการสั่นทำให้เสียงสั่น เกร็ง แน่น ไม่สบาย
  • คนส่วนมากรู้สึกได้ว่า เสียงจะค่อยเปลี่ยนอย่างช้าๆ ซึ่งไม่ได้ก่อให้เกิดความลำบากในการสื่อสารในช่วงแรก แต่สำหรับบางคนแล้วอาการพวกนี้อาจจะเกิดขึ้นได้ก่อนวัย ซึ่งอาจจะก่อให้เกิดปัญหาความยากลำบากในการสื่อสารได้ครับ

 

  • สำหรับคนที่มีปัญหาด้านของการใช้เสียงในทุกช่วงวัย สามารถปรึกษาคุณครูของเราได้ เพราะเรามีบริการดูแล ฝึกฝนการใช้เสียง และดูแลเสียงให้ทำงานได้ดีขึ้นด้วยแบบฝึกหัดและการฝึกฝนที่ออกแบบให้เฉพาะบุคคล โดยคุณครูฟิล์มที่ได้รับการรับรองจาก VHE ลอนดอน ประเทศอังกฤษ ซึ่งให้คำปรึกษา ดูแล และแก้ไขเสียงอย่างเป็นระบบปรึกษาหรือสอบถามข้อมูลได้ที่ ร้องเพลงดอทคอม โทร 099-2324519 หรือไลน์ไอดี @rongpleng ครับและขอขอบคุณความรู้ดีๆจาก British Voice Association อีกครั้งครับ